วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

มีใครรู้มั่งว่าชุดไทยมีประโยชน์อะไยบ้าง



ประโยชน์ของชุดไทย



   ชุดไทยนับเป็นผ้าไหมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมจากชนทั่วโลกมาเป็นเวลาช้านาน มีลักษณะเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชุดไทยเฉพาะตัว ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า ชุดไทย เป็นชุดจากเอเชียที่มีความสวยงามที่สุด จะมีความสวยงามอยู่ในตัว เพราะมีปุ่มปมอยู่บริเวณผืนผ้า มีความมันวาวเลื่อมเป็นประกายเงางามอันเกิดจากการทอแสงของเส้นไหมที่ใช้ผลิต ทั้งยังมีลวดลายและมีสีสันสดใสที่หลากหลาย ทำให้ชุดไทยมีเสน่ห์พิเศษสามารถดึงดูด และจูงใจให้เกิดความสนใจต้องการซื้อหาไปไว้ใช้ ดังจะเห็นได้จากในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาซื้อหาไว้เป็นของที่ระลึก และบางท่านก็นิยมหาซื้อผ้าลายสวยงาม แปลกตากลับไปตกแต่งบ้านบ้าง ตัดชุดบ้าง ซึ่งเมื่อคิดดูแล้วจะเห็นว่า ชุดไทย จะสามารถทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างดี 

แต่นั่นก็เป็นเพียงการขายให้นักท่องเทียวซึ่งด้วยความสวยงามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุดไทยนี้ยังสามารถที่จะเผยแพร่ และขายสู่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่าผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศเท่านั้น หนูจึงคิดว่าน่าจะมีคนไทยที่พักอาศัยอยู่ในต่างประเทศที่มีความต้องการซื้อชุดไทย หรือคนต่างชาติที่ไม่ได้เดินทางเข้ามาสู่ในประเทศไทยบ่อยๆ หรือแม้แต่ชนชาติต่างๆ ที่ไม่เคยมาเมืองไทยเมื่อได้เห็นชุดไทย ก็อาจมีความต้องการซื้อชุดไทย ด้วยเช่นกัน ประกอบกับความรักในชุดไทย ความที่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริม ศิลปะ หัตถกรรมผ้าไหมไทยให้เผยแพร่ และสืบสานต่อไป้

อ้างอิง

http://iam.hunsa.com/dibso6321/article/4206

คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คุณค่าของวัฒนธรรมไทย

คุณค่าของวัฒนธรรมไทย
     วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้  คุณค่าของวัฒนธรรมไทยสามารถจำแนกได้  ดังนี้

     1.  วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย  ที่คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจ  วัฒนธรรมไทยมีความโดดเด่นและแสดงออกถึงความเป็นชาติไทยได้อย่างชัดเจน  ดังนี้
          1.  ภาษาไทย  มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น  คือ  มีสระ  มีวรรณยุกต์
          2.  อาหารไทย  มีหลายรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์  เช่น  เผ็ด  เปรี้ยว  เค็ม  มีรสอร่อย  ถูกปากทั้งคนไทยและคนต่างชาติและยังมีการจัดตกแต่ง  เช่น  เผ็ด  เปรี้ยว  เค็ม  มีรสอร่อยถูกปากคนไทยและคนต่างชาติและยังมีการจัดตกแต่ง  แกะสลักสวยงาม  นอกจากนี้เครื่องปรุงส่วนใหญ่จะเป็นพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่น  ขิง  ข่า  ตะไคร้  ใบมะกรูด  เป็นต้น
          3.  การแต่งกาย  ประเทศไทยมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์  มีความสวยงาม  เช่น  ชุดไทยจักรี  ชุดไทยเรือนต้น  ชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5  นอกจากนี้ยังมีการแต่งกายประจำท้องถิ่นของภาคต่าง ๆ อีกด้วย

     2.  วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม  โดยวัฒนธรรมจะเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่กำหนดแนวทางความประพฤติของคนในสังคม  ประกอบด้วย  วิถีชาวบ้าน  จารีตประเพณี  และกฎหมาย

     3.  วัฒนธรรมไทยทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับคนไทย  เพราะวัฒนธรรมไทยจะประกอบด้วย  ความเชื่อ  ค่านิยม  ทัศนคติและความดีงามเหมาะกับสังคมไทย  เป็นเครื่องกล่อมเกลาให้คนไทยมีพฤติกรรม  หรือบุคลิกภาพที่ดีงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เช่น  กิริยามารยาทที่สุภาพอ่อนโยน  ความอ่อนน้อมถ่อมตน  ความใจดีมีเมตตา  เป็นต้น

     4.  วัฒนธรรมไทยก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  วัฒนธรรมไทยทำให้คนไทยมีความรู้สึกผูกพัน  สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้  มีจิตสำนึกถึงความเป็นพวกเดียวกันมีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง

     5.  วัฒนธรรมไทยทำให้เศรษฐกิจของชาติสามารถพึ่งพาตนเองได้  การคิดค้นประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ของไทยในปัจจุบัน  ได้พยายามรณรงค์ให้สร้างสรรค์และพัฒนามาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย  โดยสามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้ท้องถิ่นและประเทศชาติเป็นอย่างมาก  นอกจากนี้ประเทศไทยในปัจจุบันยังยึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  ด้วย  จึงทำให้สังคมไทยมีความมั่นคงและพอเพียงทางเศรษฐกิจสามารถพึ่งพาตนเองได้

          จะเห็นว่าประเพณีและวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทย  สมควรที่คนไทยจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าดังกล่าว   โดยร่วมกันสืบสานจรรโลกประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่กับสังคมไทยสืบไป

อ้างอิง

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2164-00/

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ชุดไทย

                       ชุดไทย
วันนี้เอาชุดไทย และเกร็ดความรู้สวยๆมาฝากการนะค่ะ

ชุดไทยเป็นชุดประจำชาติไทย

มี 6 ประเภทคือ

1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย
9. ชุดไทยประยุกต์ 

ทีนี้เรามาดูการค่ะว่าแต่ละชุดเค้าใส่ไปโอกาศใดบ้าง
และสวยขนาดไหน

ชุดไทยเรือนต้น คือ ชุดไทยแบบลำลอง ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีจะตัดกับซิ่นหรือเป็นสีเดียวกันก็ได้เสื้อ คนละท่อนกับซิ่น แขนสามสวนกว้างพอสบาย ผ่าอก ดุมห้าเม็ด คอกลมตื้น ๆ ไม่มีขอบตั้ง เหมาะไช้แต่งไปในงานที่ไม่เป็นพิธีและต้องการความสบายเช่น ไปงานกฐินต้นหรือเที่ยวเรือ เที่ยวน้ำตก






ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ
เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบ
ลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งแต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส





ชุดไทยอมรินทร์ คือ ชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ยกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแบบนี้อนุโลมให้ สำหรับผู้ไม่ประสงค์คาดเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งและแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า และเครื่องประดับที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำและเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผู้ แต่งชุดไทยอมรินทร์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์




ชุดไทยบรมพิมาน คือ ชุดไทยพิธีตอนค่ำที่ใช้เข็มขัดใช้ผ้าไหมยกดอกหรือยกทองมีเชิงหรือยกทั้งตัว ก็ได้ ตัวเสื้อและซิ่นตัดแบบติดกัน ซิ่นมีจีบข้างหน้าและมีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาดตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ผ้าจีบยาวจรดข้อเท้า แบบนี้เหมาะสำหรับผู้มีรูปร่างสูงบาง สำหรับใช้ในงานเต็มยศและครึ่งยศ เช่นงานอุทยานสโมสรหรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการในคืนที่มี อากาศเย็น ใช้เครื่องประดับสวยงามตามสมควรผู้แต่งประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์




ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน
อ้้างอิงๅ...
http://kaminwedding.com.a27.readyplanet.net/

เอกลักษณ์ ชุดไทย

เอกลักษณ์ ชุดไทย



ทุกคนสงสัยกันไม๊คะว่า ชุดไทย มีความเป็นมาอย่างไร และมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง  และทำไมชุดไทยคนถึงนิยมใส่ในวันแต่งงาน และงานพิธีมงคลต่างๆ
ชุดไทย หมายถึง ชุดไทยเรือต้น ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยดุสิต ซึ่งเป็นชุดไทยพระราชนิยม ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องแต่งกาย ที่งดงามมากๆ ชื่อแต่ละชุดที่ใช้เรียกก็จะมีลักษณะ การตัดเย็บ ก็ออกแบบ ที่สวยเด่นแตกต่างกันไป อยู่ที่ความชอบของบุคคลที่สวมใส่ว่าชอบชุดแบบไหน โดยคนไทยนิยมใช้ เนื่องในโอกาส และ พิธีการ ที่เป็นทางการมากๆ เช่น งานเข้าเฝ้า  งานราตรีในต่างประเทศ งานแต่งงาน ของคนไทย และ พิธีกรรม สำคัญในสังคมชั้นสูง
ชุดไทย ถือกำเนิดขึ้นได้ เป็นเพราะกระแสนิยมสืบเนื่อง มาจากที่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ และทำการส่งเสริมผ้าไทยอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นเครื่องแต่งตัว ที่เป็นมาตรฐาน และเป็นชุดประจำชาติไทย ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์อันวิจิตรตระการตา งดงาม ด้วยลวดลายไทย ที่อ่อนช้อย ปักและทอลงบนผืนผ้าอย่างประณีตงดงาม
ชุดไทย ไม่ว่าจะแบบไหนก็สวยประณีต อ่อนช้อย และเป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่สวยที่สุดในโลก  (สำหรับเรานะ )  

       อ้างอิง .... http://board.postjung.com/657281.html


ความเป็นมาของชุดไทยพระราชนิยม

ความเป็นมาของชุดไทยพระราชนิยม
                                                     

   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมี พระราชนิยม เรื่อง การใช้ ผ้าไทย มาตั้งแต่ ทรงพระเยาว์ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา ฯ ประกาศหมั้น ครั้งนั้น ได้มี นักหนังสือพิมพ์ ชาวต่างประเทศ ขอสัมภาษณ์ ซึ่งพระองค์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะสนับสนุน และ ส่งเสริมการแต่งกาย ที่เป็น แบบไทย เมื่อพระองค์ ยังเป็น พระคู่หมั้น ได้ใช้ ผ้าไทย และ ซิ่นไทย ส่วนชุดใน พระราชพิธี อภิเษกสมรส ได้ใช้ชุดที่ ตัดเย็บ ด้วย ผ้าไทย เมื่อพระราชพิธี ได้ผ่านไปแล้ว พระองค์ได้ทรง ปฏิบัติตาม พระราชปณิธาน ดังกล่าวต่อมา และได้มี เครื่องแต่งกาย แบบไทย ตาม พระราชนิยม ขึ้น ซึ่งกลายเป็น เอกลักษณ์ ทาง การแต่งกายประจำชาติ มาจนทุกวันนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมี พระราชดำริ เรื่องการ แต่งกายประจำชาติ ของสตรีไทย ตั้งแต่คราวเสด็จฯ เยือนประเทศ เพื่อนบ้าน เป็นครั้งแรก  ในสมัยนั้นยังไม่มี ชุดไทย ต่างๆ ตามพระราชนิยม ได้ทรงคิดใช้ ไหมไทย ผ้าไทย และ ผ้ายก ต่างๆ มา ประดิษฐ์ตกแต่ง เป็น ฉลองพระองค์ เพื่อให้แสดงถึงของ ความเป็นไทย ทรงเจริญรอย สมเด็จพระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เรื่องการ ใช้ฉลองพระองค์  ทรงให้ ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทางประวัติศาสตร์ และ การแต่งกาย ของ สตรีไทย สมัยโบราณ มาประยุกต์ และ ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อ ชุดไทย นี้ขึ้น ตามแบบ ต่างๆ ซึ่งได้ แนวคิด จาก ชื่อ พระตำหนัก และ พระที่นั่ง อาทิ ไทยอมรินทร์ (Thai Amarin ) ไทยจิตรลดา (Thai Chitlada ) ไทยบรมพิมาน (Thai Boromphiman) ไทยจักรพรรดิ (Thai Chakkraphat ) ไทยจักรี (Thai Chakkri)ไทยเรือนต้น ( Thai Ruean Ton ) ไทยศิวาลัย ( Thai Siwalai )และไทยดุสิต (Thai Dusit )
              ชุดสตรีไทยพระราชนิยม หมายถึง ชุดแต่งกายประจำชาติ ของ สตรีไทย สวมใส่ ใน งานพิธี หรือ งานพระราชพิธ ีต่างๆ เช่น งาน พิธีหมั้น งานพิธี มงคลสมรส เป็นชุด ที่มี เอกลักษณ์ เฉพาะ มีหลายรูปแบบ ตัดเย็บ ด้วย ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าใยประดิษฐ์ อาจเป็น ผ้าพื้น ผ้าลายดอก ผ้าลายริ้ว ผ้ายกดิ้น เงินดิ้นทอง หรือ ผ้ายกดอก เต็มตัว ใช้วัสดุเกาะ เกี่ยวข้อง ที่เหมาะสม เช่น ซิป ตะขอ กระดุม ที่ห่อหุ้ม จากผ้า ตัวเสื้อ อาจตกแต่ง ให้สวยงาม ด้วย การปักมุก เลื่อม ลูกปัด
ผ้าไหม หมายถึง ผ้าทอ จากเส้นด้าย ที่ได้จากใยของ ตัวไหม
ผ้าฝ้าย หมายถึง ผ้าทอ จากเส้นด้าย ที่ได้จากใยของ ฝ้าย
ผ้าใยประดิษฐ์ หมายถึง ผ้าที่ได้จาก การสังเคราะห์ เช่น ผ้าพอลิเอสเทอร์ ผ้าเรยอน ผ้าเจอร์ซี่ ผ้าโทเร

อ้างอิง….http://sutinee2530.wordpress.com/